นิเทศการฝึกปฏิบัติงาน

somporn tepma
พิมพ์

             

ระ
หว่างวันที่1-3 กันยายน  2552 ทีมงานหลักสูตรการสอน แผนกวิชาประมง และแผนกวิชาบริหารธุรกิจ  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี จำนวน 6 คน ได้เดินทางไปนิเทศฝึกปฏิบัติงานของ นักศึกษาสาขางานธุรกิจเกษตร สาขางานเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงกุ้ง ที่ฟาร์ม JR1 และืที่ศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล RY4  ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ระยะเวลาตั้งแต่ มกราคม - 15 ตุลาคม 2552 

              การฝึกปฏิบัติงานครั้งนี้ เป็นการเรียนและฝึกปฏิบัติงานตามสมรรถนะพนักงานส่วนกลาง สำหรับผู้เรียนสาขางานธุรกิจเกษตร และสมรรถนะพนักงานเพาะเลี้ยงลูกกุ้งทะเล สำหรับสาขางานเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ใช้ระยะเวลาครึ่งหลกสูตร (2 ภาคเรียน) ระหว่างมกราคม - 15 ตุลาคม 2552 เป็นโครงการความร่วมมือ ระหว่างวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานีกับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF)ซึ่งเริ่มต้นจากการร่วมกันพัฒนาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 สาขางานเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงกุ้ง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว 4 รุ่น และสาขางานธุรกิจเกษตร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว 1 รุ่น

              โครงการความร่วมมือดังกล่าวมีรูปแบบและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ คือ
              1. รับผู้สนใจที่จบ ปวช. 3 ประเภทวิชาเกษตรกรรม/ประมงโดยตรง/ผู้จบ ม. 6 หรือเทียบเท่า ทุกโปรแกรม
              2. ผู้เรียนเป็นนักศึกษาของสถานศึกษา ระยะเวลาศึกษาตามหลักสูตร 2 ปี  4 ภาคเรียน
              3. ภาคเรียนที่ 1, 4  เรียนที่สถานศึกษา เรียนวิชาสามัญ และวิชาชีพพื้นฐาน วิชาชีพสาขาวิชาที่จำเป็นตามแผนการเรียน
              4. ภาคเรียนที่ 2, 3 เรียนและปฏิบัติตามสมรรถนะของสาขางานอาชีพที่ ฟาร์มของบริษัทฯ  ตามตำแหน่งงาน ที่ต้องการ
              5. ระหว่างเรียนและปฏิบัติงานอยู่ที่ฟาร์มของบริษัท ผู้เรียนมีฐานะเสมือนเป็นพนักงานของฟาร์ม มีที่พัก ข้าวให้ 3 มื้อ กับข้า่วซื้อเองตามความต้องการ ได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 140 บาท เงินโอนเ้ข้าบัญชีของผู้เรียน
              6. มีสวัสดิการซ้กผ้าชุดปฏิบัติงาน การรักษาพยาบาลตามความจำเป็น
              7. ก่อนเริ่มเรียนและปฏิบัติในฟาร์มมีการอบรมเรื่องความปลอดภัยในการปฏิับัติงาน กฎระเบียน ปรัชญา วิสัยทัศน์ แนวคิดในการดำเนินงานของบริษัท และต้องผ่านการสอบวัดทัศนคติในการปฏิบัติงานเป็นเบื้องต้น
              8. ผู้เรียนมีชั่วโมงเรียนรู้ จากนักวิชาการซึ่งเป็นครูฝึกของสถานประกอบการ
              9. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมระบบ e-learning จากครูสถานศึกษา หรือเครือข่ายการเรียนรู้อืน ได้ สัปดาห์ละ 2- 4 ชั่วโมง
             10. ครูสอนในสถานประกอบการหรือผู้ควบคุมงานในฟาร์ม เป็นผู้ประเมินคะแนนสมรรถนะการปฏิบัติงาน ครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สัดส่วน 70-75%
             11. ครูประจำวิชาของสถานศึกษาประเมินภาคความรู้ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สัดส่วน 25-30% และเป็นผู้จัดทำสมุดประเมินผล

              ประโยชน์ที่เกิดจากการจัดการศึกษาตามโครงการความร่วมมือนี้ที่สำคัญ คือ
              1. ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติงานตรงกับสมรรถนะที่ใช้จริงที่สถานประกอบการต้องการ
              2. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยปรับใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล มีความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในต้วที่ดี ในเงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม ทั้งมิติสังคม สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง
              3. ช่วยลดภาระด้านต้นทุนการศึกษาให้กับผู้ปกครอง
              4. ผู้เรียนได้ประสบการณ์ทำงานจริง ได้ใบรับรองการผ่านงาน
              5. ผู้เรียนมีประวัติการทำงานอยู่ในฐานข้อมูลแรงงานที่มีฝีมือของบริษัท
              6. มีโอกาสเข้าทำงานเมื่อมีตำแหน่งงานมากกว่ากลุ่มเป้าหมายอื่น
              7. ผู้เรียนได้เรียนรู้การดำเนินธุรกิจที่ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค สังคม สิ่งแวดล้อม และมีพัฒนากาในทางสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับในทุกภูมิภาคของโลก
              8.ภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันพัฒนาทรัพยากรบุคคลเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพเป็นพัฒนาคนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นระบบ

            

 
โครงการนี้ เป็นโครงการที่น่าสนใจสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาและผู้กำลังจะสำเร็จการศึกษา ระดับ ปวช. ม. 6 หรือเทียบเท่า ผู้ปกครอง ครู และบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ทำความเข้าใจ ถึงแนวทางปฏิบัติ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นและสมัครเข้าเรียน ระดับ ปวส. ตามหลักสูตรดังกล่าวข้างต้นนี้ในปีการศึกษา 2553 เพื่อเข้ารับการพัฒนาสมรรถนะอาชีพ ด้านประมง และด้านธุรกิจเกษตร เพิ่มคุณวุฒิวิชาชีพด้านประมง และด้านเกษตรกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของแหล่งงาน เป็นบันไดก้าวเข้าสู่งานอาชีพที่มั่นคงอีกทางเลือกหนึ่ง ตลอดทั้งมีโอกาสในการศึกษาในระดับทืี่สูงขึันจากการสนับสนุนตามสายงาน และความต้องการพัฒนาศักยภาพแห่งตนของแต่ละคน
 

              (ภาพนิเทศ เพาะเลี้ยงกุ้ง RY4(ภาพนิเทศธุรกิจเกษตร JR1)  

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2011 เวลา 13:03 น.