การประชุม-สัมมนา

วันอังคารที่ 14 กรกฏาคม 2009 เวลา 17:00 น. somporn tepma
พิมพ์

การพัฒนาบุคลากรของแผนกวิชาบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2552

ระหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2552 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี ได้จัดให้คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาจำนวน 72 คน เป็นคณะครูสังกัดแผนกวิชาบริหารธุรกิจ จำนวน 16 คน เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการโครงการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ ห้องประชุมสัตตบงกช โรงแรมอุบลบุรีรีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี วิทยากร คือ ดร. อำนวย  เถาตระกูล ตำแหน่ง นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

      สาระสำคัญที่ได้จากการประชุมปฏิบัติการ มีดังนี้
      1. ทำความเข้าใจตัวแบบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประกอบด้วย 3 ห่วง คือ  ความพอประมาณ  มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  2 เงื่อนไข  คือ ความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) คุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต  ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน) 4 มิติ คือ มิติด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม อันนำไปสู่ ความสมดุล พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง (ดังภาพที่ 1)

            

ภาพที่ 1 ตัวแบบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

 


     2. ให้สถานศึกษาดำเนินการนำปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปขับเคลื่อน 5 ด้าน คือ

          2.1 ด้านบริหารจัดการสถานศึกษา

          2.2 ด้านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน

          2.3 ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

          2.4 ด้านการพัฒนาบุคลากร

          2.5 ด้านผลลัพธ์และความสำเร็จ

      3. หลักการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

         

 
3.1 การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั้น ผู้สอนจะต้องใช้ความรู้ 3 ด้านมาผสมผสานกันให้กลมกลืน ได้แก่

                3.1.1 ความรู้เรื่องการเขียนแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้

                3.1.2 การวิเคราะห์หาสมรรถนะ

                3.1.3 รู้จักตัวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

         

 
3.2 เข้าใจจุดเปลี่ยนแปลงของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และฐานสมรรถนะ โดยสังเกตจากภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ของการสอนแบบเดิม (แบบแยกส่วน) และรูปภาพความสัมพันธ์ของการสอนแบบมุ่งเน้นสมรรถนะ ดังภาพต่อไปนี้
 

ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ของการสอนแบบเดิม (แบบแยกส่วน)

ภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ของการสอนที่มุ่งเน้นสมรรถนะ

 

 

 

 

 

 

 


         

 
สมรรถนะ คือ ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ  คุณธรรม  จริยธรรม ก่อให้เกิดชิ้นงานมาตรฐานที่มีคุณภาพ และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
 

                                          แผนภูมิแสดงองค์ประกอบของสมรรถนะอาชีพแท้

        

การ
เขียนประโยคให้เป็นประโยคสมรรถนะอาชีพ มีองค์ประกอบ  3  ประการ คือ มีกริยาของสมรรถนะ  มีกรรมของสมรรถนะ และมี เงื่อนไขของสมรรถนะ

         ตัวอย่างเช่น 

กริยาของสมรรถนะ

 กรรมของสมรรถนะ

 เงื่อนไขของสมรรถนะ

 การถอด

 การถอดส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

อย่างปลอดภัย 

 การสร้าง

 โต๊ะ  เก้าอี้

อย่างสวยงาม แข็งแรง 

 การแกง

 เขียวหวานลูกชิ้นปลา

รสชาติกลมกล่อม

 การขาย

 สินค้าอุปโภค บริโภค

 โดยไม่เอาเปรียบผู้บริโภค 

 การกลึง

 เกลียวน๊อตเพลาข้างรถยนต์

พอดีกับขนาดของรูน๊อต 

 การเขียน

แบบรูปด้านข้างบ้าน 2 ชั้น

ตามมาตราส่วนที่กำหนด

 การปั้น

หุ่นเหมือนจริงของสัตว์สี่เท้า

มีขนาดรูปทรงสมส่วน

 การลงรายการ

ของบัญชีต้นทุน

ครบถ้วนทุกรายการ


       

 
3.3 ดำเนินการตามขั้นตอน  7 ขั้นตอน การวิเคราะห์หาสมรรถนะอาชีพแท้เพื่อเขียนแผนการสอน หรือแผนการเรียนรู้

             3.3.1 หากลุ่มอาชีพ / อาชีพ/ งานที่ต้องการค้นหา
             3.3.2 เลือกเครื่องมือ เทคนิควิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ เช่น Funtional Analysis Model หรือ Job Analysis Model
หรือ Task Analysis Model หรือ Occupational Analysis Model
             3.3.3 ดำเนินการวิเคราะห์หาสมรรถนะ เพื่อค้นหาหรือกำหนดสมรรถนะอาชีพในเบื้องต้น ตามทัศนะของครูผู้สอนอาชีพซึ่งไม่ใช้เจ้าของอาชีพ
             3.3.4 นำผลสมรรถนะที่วิเคราะห์ได้ไป Identify/ Verify กับสถานประกอบการหรือเจ้าของอาชีพจริง
             3.3.5 สังเคราะห์สมรรถนะอาชีพใหม่โดยย้อนไปดูสมรรถนะในขั้นตอนที่ 3 เพื่อให้ได้สมรรถนะ
             3.3.6 นำสมรรถนะอาชีพแท้ไปบูรณาการเข้ากับหลักสูตรสาขาวิชา  หลักสูตรรายวิชา
             3.3.7 ดำเนินการเขียนแผนการสอนสมรรถนะอาชีพหรือแผนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ

 

        

 
3.4 บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปในแผนการสอนที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ อาจบูรณาการในเนื้อหา หรือในกิจกรรมการเรียนการสอน หรือในคุณธรรม จริยธรรม  หรือช้นงานที่มุ่งเน้นสมรรถนะ อาจเป้นในรายวิชาเดียวหรือข้ามรายวิชา หรือร่วมกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนก็ได้ มีตัวบ่งชี้ที่สามารถวัดและประเมินได้ โดยการขับเคลื่อนต้องยึดหลัก ความเข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา
 

            

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 07 สิงหาคม 2011 เวลา 12:05 น.